การอำนวยการ (Directing) หมายถึง
การจัดการของผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการสั่งการตามหน้าที่ความรับผิดชอบ ชี้แนะ
บุคคล การนิเทศงาน และการติดตามผล เพื่อให้งานดำเนินไปตามแผน
หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้
องค์ประกอบของการอำนวยการ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่
1. ความเป็นผู้นำเป็นกระบวนการของการสั่งการ
และการใช้อิทธิพลต่อกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกในองค์การ
ให้ยอมตามเพราะยอมรับในอำนาจที่มาจาก 3 แหล่ง คือ
1) ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมา
2) อำนาจจากบารมี
3) อำนาจตามกฎหมาย
2. การจูงใจ
มีความสำคัญต่อการสั่งการหรือการอำนวยการ
เพราะเกี่ยวกับบุคลากรให้ปฏิบัติงาน
จึงจำเป็นต้องมีการจูงใจหรือกระตุ้นให้อยากทำงาน
โดยอาศัยหลักธรรมชาติว่ามนุษย์ต้องการ 5 ระดับได้แก่
1) ความต้องการขั้นพื้นฐาน
คือปัจจัย 4
2) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย
3) ความต้องการทางสังคม
4) ความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง
5) ความต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต
ดังนั้น ในการสั่งการโดยมีเทคนิคจูงใจด้วย
ก่อนจะสั่งการควรขึ้นคำถามก่อนว่า “พอมีเวลาหรือไม่”
หรือ “คุณจะช่วยงานนี้ได้ไหม”
3. การติดต่อสื่อสาร
เป็นกระบวนการสำคัญช่วยให้การอำนวยการดำเนินไปได้ด้วยดีมีประสิทธิภาพ
มี 2 ลักษณะคือ
1) สื่อสารแบบทางเดียว
2) สื่อสารแบบ 2 ทาง
4. องค์การและการบริหารงานบุคคล จุดมุ่งหมายของนักอำนวยการคือ
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและองค์การ
ซึ่งต้องการไม่เหมือนกันผู้อำนวยการจึงต้องทำให้เกิดความสมดุลกัน
รูปแบบของการอำนวยการ มี 5 รูปแบบ ได้แก่
1. คำสั่งแบบบังคับ
2. คำสั่งแบบขอร้อง
3. คำสั่งแบบแนะนำหรือโดยปริยาย
4. คำสั่งแบบขอความสมัครใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น